แผนที่ - อำเภอธาตุพนม (Amphoe That Phanom)

อำเภอธาตุพนม (Amphoe That Phanom)
ธาตุพนม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนมที่มีชื่อเสียงและเป็นสถานที่ประดิษฐานพระธาตุพนม มีประวัติศาสตร์เก่าแก่และเกี่ยวข้องกับพัฒนาการสำคัญของพระพุทธศาสนาในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วย 12 ตำบล 136 หมู่บ้าน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 12 แห่ง

อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองกัลปนาขนาดใหญ่ชื่อ เมืองพนม (พระนม) หรือ เมืองธาตุพนม (ภาษาอังกฤษ: M. Penom, Muong Peunom, Moeuong Dhatou Penom, Phapanom ) หรือ เมืองภูกำพ้า คัมภีร์อุรังคธาตุหลายฉบับรวมทั้งพงศาวดารย่อเวียงจันทน์ พงศาวดารเมืองมุกดาหาร พื้นธาตุพระนม พื้นธาตุหัวอก มหาสังกาสธาตุพนมโคดมเจ้า และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า พระนม (พนม) จารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทะปุระของพระขนานโคษออกนามว่า ธาตุประนม ส่วนหลักศิลาเลกบูรณะพระธาตุพนม พ.ศ. 2444 จารึกว่า ธาตุภนม คัมภีร์อุรังคธาตุฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสะหวันนะเขด แสดงฐานะธาตุพนมว่าเป็นนครใหญ่แห่งหนึ่งโดยเรียกว่า นครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า คัมภีร์เดียวกันบางฉบับบ้างเรียกว่า น้ำท่อนต่อนดินพระมหาธาตุเจ้า หลักฐานบางแห่งออกนามเมืองเป็นสร้อยท้ายนามเมืองมรุกขนครว่า มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์ ส่วนคัมภีร์ใบลานเรื่องนิมิตหลักกงแก้วหัวเอิกธาตุเจ้าก้ำเหนือระบุนามต่างกันไปทั้ง เมืองนครโอกาสแก้วเวียงสีพนมธาตุ เวียงธาตุพนมแก้ว เมืองแก้วโอกาสพนมธาตุ เมืองแก้วราชธาตุพนมหลวง เมืองธาตุพนมภูกำพร้า เป็นต้น

คำว่า พนม ตรงกับภาษาเขมร (วนํ, บนาม) แปลว่า ภูเขา แต่คัมภีร์อุรังคธาตุหลายฉบับเขียนว่า พระนม (พฺรนม) ซึ่งมาจากภาษาเขมร (พระ) และภาษาลาว (นม) หมายถึงหน้าอกของพระพุทธเจ้า ชาวลาวออกสำเนียงว่า ปะนม (ประนม) คำนี้ปราฏในหนังสือพงศาวดารของแขวงสุวรรณเขตด้วย สำเนียงคนท้องถิ่นนิยมเรียกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับ เมืองละคร (เมืองนครพนม) และเรียกชาวธาตุพนมว่า ไทพนม หรือ ไทปะนม สมัยโบราณเรียกที่ตั้งศูนย์กลางเมืองนี้ว่า กปณคีรี (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) บางแห่งเขียนเป็น ภูกามพ้า หรือ ภูก่ำฟ้า คนทั่วไปเรียกว่า ภูกำพร้า ซึ่งเป็นที่ตั้งพระมหาธาตุโบราณอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมะเตชะเจดีย์ หรือ พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมสถาน หรือ พระมหาธาตุเจ้าพระนมบุรมมหัวอกพระพุทธเจ้า หลักฐานบางแห่งเรียกว่า ธาตุภูกำพร้า หรือ อูบมุงภูกำพร้า คนทั่วไปเรียกว่า ธาตุปะนม หรือ ธาตุหัวอก ปัจจุบันคือพระธาตุพนม วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ซึ่งเดิมเรียกวัดพนม (วัดธาตุหรือวัดพระธาตุ) นับถือแต่โบราณว่าพระมหาธาตุนี้ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอก) ของพระพุทธเจ้า 4 พระองค์ ชาติพันธุ์สองฝั่งโขงนับถือว่าเป็นพระปฐมเจดีย์ของลาว พื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่าพระธาตุพนมคือหลักโลกของชาวลาว ส่วนเอกสารประวัติบ้านชะโนดยกย่องว่าธาตุพนมคือเสใหญ่ (หลักเมือง) ของลาว

เอกสารพื้นเมืองพนมระบุว่าก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม ท้องถิ่นนี้เชื่อว่าธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ธาตุพนมจึงถูกเรียกว่า ธาตุนกคุ่ม (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) หรือฮังนกคุ่ม สอดคล้องกับพื้นเมืองจันทะบูลีซึ่งระบุว่าก่อนสร้างพระธาตุพนมได้ปรากฏเฮือนหินหรือปราสาทบนภูกำพร้าก่อนแล้ว ส่วนตำนานขุนบูลมระบุว่าธาตุพนมเป็นเมืองสำคัญ 1 ใน 7 หัวเมืองทางศาสนายุคแรกที่ประดิษฐานพระสารีริกธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลายในสุวรรณภูมิประเทศของลาว แม้แต่อาณาจักรล้านนาก็ยอมรับให้เป็นพระบรมธาตุสำคัญประจำปีสันหรือนักษัตรวอกตามคติชุธาตุด้วย คัมภีร์อุรังคธาตุระบุถึงสถานะของธาตุพนมว่าเป็น พุทธศาสนานคร หรือ ศาสนานคร ตำนานของเมืองจึงถูกเรียกว่า ศาสนานครนิทาน จารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงเรียกนามเมืองว่า สาสสนาพระนม สถานะความเป็นเมืองพุทธศาสนานครของธาตุพนมหมายถึงนครศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าว ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามว่า เมืองเมกกะของลาว และ มหานครแห่งพระพุทธศาสนาของลาว (Métropole religieuse des Laociens)

 
แผนที่ - อำเภอธาตุพนม (Amphoe That Phanom)
ประเทศ - ไทย
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
THB บาท (Thai baht) ฿ 2
ISO Language
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  มาเลเซีย 
  •  ลาว 
  •  สาธารณรัฐเขมร 
  •  เมียนมา